ข่าวพลังงาน เทคโนโลยี

Solar Floating on Sea คือ? มารู้จักนวัตกรรมพลังงานตัวนี้กัน!

Pinterest LinkedIn Tumblr

โซลาร์เซลล์ คือ นวัตกรรมสร้างพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ เดิมทีใช้สำหรับโครงการด้านอวกาศดาวเทียมเท่านั้น จากนั้นก็มีการพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และนำมาใช้งานได้หลากหลายขึ้น แต่ใช้ต้นทุนในการผลิตต่ำลง การติดตั้งโซลาร์เซลล์มีหลากหลายรูปแบบและมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน  สำหรับ Solar Floating หรือ นวัตกรรมโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ มีหลายบริษัทอุตสาหกรรมในประเทศไทยนิยมใช้นวัตกรรมพลังงานตัวนี้กัน พลังวาฬบางอย่างจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจนวัตกรรมพลังงานกันให้มากขึ้น

Solar Floating on Sea คือ? มารู้จักนวัตกรรมพลังงานตัวนี้กัน!, Whale Energy Station

ประเทศไทยมีการใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์มานานแล้ว ซึ่งพลังงานแสงอาทิตย์ถือว่าเป็นพลังงานจากแหล่งที่ไม่มีวันหมด เป็นพลังงานสะอาด ปราศจากมลพิษ สามารถนำมาใช้ทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลได้ นอกเหนือจากนี้ยังนำไปใช้งานได้หลากหลาย ผลิตไฟฟ้าได้ทุกขนาดตั้งแต่เล็กจนถึงใหญ่ และช่วยให้การผลิตไฟฟ้าใช้เองเป็นเรื่องง่าย ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิประเทศเขตโซนร้อน ทำให้มีช่วงเวลาในการรับแสงอาทิตย์ตลอดทั้งปี  มีความเข้มข้นของรังสีติดอันดับของโลกทำให้เรามีศักยภาพการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในระดับเข้มข้น ในอดีตมีราคาค่อนข้างสูง ปัจจุบันนิยมใช้ตามโรงงานอุตสาหกรรมและบ้านเรือน

Solar Floating on Sea คือ? มารู้จักนวัตกรรมพลังงานตัวนี้กัน!, Whale Energy Station

 

นวัตกรรม Solar Cell ติดตั้งในรูปแบบไหนได้บ้าง?

Solar Floating on Sea คือ? มารู้จักนวัตกรรมพลังงานตัวนี้กัน!, Whale Energy Station

แบ่งออกได้เป็น 4 รูปแบบหลักๆ ได้แก่

  1. โซลาร์ฟาร์ม Solar Farm คือ นวัตกรรมแผงพลังงานที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนพื้นดิน มีทั้งแบบยึดติดอยู่กับที่ (Fixed System) หรือ แบบหมุนตามดวงอาทิตย์ (Tracking System) ข้อสังเกตคือ จำเป็นต้องใช้พื้นที่ค่อนข้างมาก แย่งพื้นที่ทำการเกษตร ผลิตไฟฟ้า 1 เมกะวัตต์จะใช้พื้นที่ไม่น้อยกว่า 5 ไร่ การติดตั้งควรจะเป็นที่โล่ง แจ้ง ไม่มีเงามาบังแผงเซลล์ ไม่อยู่ใกล้สถานที่เกิดฝุ่น
  2. โซลาร์เซลล์บนหลังคา Solar Rooftop คือ นวัตกรรมแผงพลังงานที่ติดตั้งบนหลังคา

นิยมใช้กันในครัวเรือน เพราะมีข้อดีคือช่วยบังแสงแดด และลดความร้อนของหลังคา ลดค่าไฟฟ้า ยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ระบบแสงสว่างได้อีกด้วย แต่ข้อเสียคือต้นทุนค่อนข้างที่สูง เหมาะสำหรับบ้านที่มีค่าไฟฟ้าอยู่ในระดับ 3000-4000 บาทขึ้นไป

  1. Solar Floating คือ นวัตกรรมแผงพลังงานที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์ลอยอยู่บนผืนน้ำ

ซึ่งการติดตั้งแบบนี้ ถือว่ามีประสิทธิภาพมากกว่าการติดตั้งแบบอื่น เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง หรืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่จำกัด ใช้พื้นที่ว่างเปล่าให้เป็นประโยชน์และยังมีข้อดีที่เป็นจุดเด่นคือ

1.ไม่ต้องใช้ที่ดิน ต้นทุนใกล้เคียงกัน ไม่ต้องสูญเสียที่ดินโดยเปล่าประโยชน์

2.การติดตั้งและการรื้อถอนสามารถทำได้ง่าย ไม่ต้องใช้อุปกรณ์หนักในการติดตั้ง

3.คุณภาพของน้ำจะดีขึ้น ลดการระเหยได้ถึง 80% เพราะแผงโซลาร์เซลล์ปกคลุมไว้

4.ใช้โครงสร้างแบบลอยตัว ทำให้มีกลไกระบายความร้อนจึงทำงานดีขึ้น สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของแผงโซลาร์เซลล์ ได้ถึง 8 – 10 %

5.สามารถปรับแผงโซลาร์เซลล์เพื่อรับแสงอาทิตย์ได้ง่าย ได้มากที่สุด

  1. Solar Floating on Sea คือ นวัตกรรมแผงพลังงานที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์ลอยอยู่บนทะเล

วิธีนี้ ต้องคำนึงถึงหลายปัจจัย เช่น คลื่น และการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำ ดังนั้นการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ลอยอยู่บนผืนน้ำจะต้องยึดทุ่นให้อยู่กับที่ตลอดเวลาที่น้ำขึ้น-ลง เพราะสิ่งเหล่านี้อาจก่อความเสียหายและทำให้แผงพลังงานแสงอาทิตย์ต้องหยุดดำเนินการ การติดตั้งแผงพลังงานนอกชายฝั่งยังมีต้นทุนสูงอีกด้วย

 

ในไทยมีที่ไหนบ้างที่ใช้นวัตกรรมพลังงาน Solar Floating

Solar Floating ของ SCG ( บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด)

“ผู้พัฒนานวัตกรรมแผงพลังงาน Floating Solar รายแรกในไทย”

ธุรกิจเคมิคอลส์ของเอสซีจี ได้ริเริ่มพัฒนานวัตกรรมทุ่นลอยน้ำสำหรับติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ Floating Solar จนสำเร็จเป็นโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำรายแรกในประเทศไทยเมื่อปี 2561 และมุ่งมั่นพัฒนารูปแบบและระบบของทุ่นลอยน้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับเทคโนโลยีและเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ทุ่นลอยน้ำจาก SCG Floating Solar Solutions จึงได้รับการออกแบบอย่างดี สามารถติดตั้งได้หลายรูปแบบและรองรับแผงโซลาร์เซลล์หลากหลายประเภท นอกจากนี้ยังผลิตมาจากเม็ดพลาสติก HDPE สูตรพิเศษ มีคุณลักษณะเป็น food-grade ปลอดภัยต่อระบบนิเวศใต้น้ำ มีแรงลอยตัวเหนือผิวน้ำสูง และทนทาน สามารถใช้งานกลางแจ้งได้ยาวนานกว่า 25 ปี

Solar Floating on Sea คือ? มารู้จักนวัตกรรมพลังงานตัวนี้กัน!, Whale Energy Station

 

Solar Floating ของ กฟผ. (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย)

“มิติใหม่โซลาร์เซลล์ลอยน้ำแบบไฮบริดแห่งแรกของไทย หรือ Hydro-Floating Solar Hybrid Project”

กฟผ. ได้ริเริ่มโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำของเขื่อน กฟผ. ด้วยระบบผสมผสานหรือระบบไฮบริด (Hydro-floating Solar Hybrid) โดยนำร่องแห่งแรกที่เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี มีขนาดกำลังผลิต 45 เมกะวัตต์ ถือเป็นโครงการโซลาร์เซลล์ทุ่นลอยน้ำแบบผสมผสานแห่งแรกของประเทศไทย โดยโครงการฯ มีแผนจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ในเดือนธันวาคม 2563 ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 (PDP2018)

การผลิตไฟฟ้าระบบผสมผสาน (Hybrid) คือการผสมผสานระหว่าง “พลังงานแสงอาทิตย์” ร่วมกับ “พลังน้ำ” โดยโซลาร์เซลล์จะผลิตไฟฟ้าในช่วงกลางวัน และนำพลังน้ำมาเสริมในช่วงที่ความเข้มแสงไม่เพียงพอหรือในช่วงเวลากลางคืน พร้อมนำระบบควบคุมและบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System: EMS) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาควบคุมการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าทั้งสองชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงช่วยลดความไม่แน่นอนของพลังงานหมุนเวียน ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง ช่วยเสริมความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าของประเทศ

 

Solar Floating ของ PTT ( บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) )

นวัตกรรมระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในน้ำทะเล (Solar Floating on Sea) โครงการแรกในไทย

ปตท. ได้เล็งเห็นถึงโอกาสในการสร้างพลังร่วม (Synergy) เพื่อพัฒนาการใช้พลังงานหมุนเวียนของประเทศไทยให้สอดรับกับนโยบายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนของรัฐบาล โดยได้ริเริ่มโครงการนำร่องการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดลอยน้ำทะเล (Floating Solar) ขนาด 100 กิโลวัตต์ ในพื้นที่บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินอล จำกัด อ.มาบตะพุด จ.ระยอง โดย บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GC) ได้พัฒนานวัตกรรมเม็ดพลาสติกเกรดพิเศษ InnoPlus HD8200B ซึ่งมีความแข็งแรง ทนทานต่อแรงกระแทก ขึ้นรูปได้ง่าย ช่วยลดความหนา เพื่อนำมาผลิตทุ่นลอยน้ำ เพิ่มสารลดการสะสมของเพรียงทะเลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสัตว์ทะเล และบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC) ในฐานะแกนนำการดำเนินธุรกิจไฟฟ้าของ กลุ่ม ปตท. ได้ให้ บริษัท ผลิตไฟฟ้าและพลังงานร่วม จำกัด (CHPP) เป็นผู้ออกแบบและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในน้ำทะเล ซึ่งในระยะแรกจะนำไฟฟ้าที่ผลิตได้ไปใช้ภายในสำนักงาน เพื่อเป็นต้นแบบการศึกษาโมเดลในการสร้างการเติบโตทางธุรกิจพลังงานใหม่ (New Energy) ให้สอดคล้องกับทิศทางของพลังงานที่เปลี่ยนแปลงไป

Solar Floating on Sea คือ? มารู้จักนวัตกรรมพลังงานตัวนี้กัน!, Whale Energy Station

ซึ่งถือได้ว่าเป็นโครงการแรกของประเทศไทยที่มีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในน้ำทะเล นอกจากจะเป็นพลังงานสะอาดแล้ว ยังมีส่วนช่วยยกระดับการพัฒนานวัตกรรมที่จะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าและต่อยอดสู่ธุรกิจประเภท New Energy ที่กลุ่ม ปตท. ได้วางเป้าหมายไว้ อีกทั้งยังเป็นนวัตกรรมพลังงานทางเลือกที่ยั่งยืน สร้างโอกาสในการพัฒนาธุรกิจด้วยการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ผิวน้ำ และจะมีการขยายการติดตั้งให้แก่ผู้สนใจทั่วไปในอนาคตอีกด้วย

 

แหล่งอ้างอิง

https://www.energynewscenter.com/14065-2/

https://www.scg.com/innovation/floating-solar-farm/

http://www.anusornpower.com/16544458/service

https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=3560:20200722&catid=49&Itemid=251

https://www.pttplc.com/th/Media/News/Content-22232.aspx