เคยรู้กันไหมว่ากว่าจะมาเป็นน้ำมันให้เราได้ใช้ มันไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ นะ!
วันนี้พี่วาฬจะมาเล่าให้ฟังกันว่าก่อนจะมาเป็นพลังงานให้เราได้ใช้แบบนี้ ต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง
ใครจะรู้ว่า ปิโตรเลียมที่นำมาผลิตเป็นน้ำมันที่เราใช้เติมน้ำมันรถ ผลิตพลาสติก หรือแม้แต่น้ำมันหล่อลื่นเครื่องจักร นั้น
ต้องใช้เวลาหลายล้านปีในการก่อร่างสร้างตัว จากซากพืชซากสัตว์ใต้ทะเลลึก ทับถมกันจนเกิดการแปรสภาพด้วยความร้อนและแรงดันสูง
แต่ว่าการที่จะเกิดปิโตรเลียมขึ้นมาได้ก็ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมเช่นกัน
สภาพภูมิประเทศต้องเป็นแอ่งสะสมใต้ทะเล และมีกระแสน้ำที่ไหลช้า เพื่อป้องกันไม่ให้ตะกอนถูกพัดพา
มีออกซิเจนและซัลเฟตในปริมาณต่ำ ทำให้ซากสิ่งมีชีวิตไม่ถูกย่อยสลายเร็วเกินไป
ต้องมีชั้นหินที่มีโครงสร้างแบบปิดกั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ปิโตรเลียมรั่วไหลออกไปจนหมด
และยังต้องผ่านกระบวนการกลั่นที่ซับซ้อนอีก เช่น
การกลั่นแยกส่วน น้ำมันดิบจะถูกแยกส่วนประกอบต่าง ๆ ตามจุดเดือด เพื่อนำไปปรับปรุงคุณภาพและมูลค่าของน้ำมันใส
ปรับปรุงคุณภาพ กำจัดสารปนเปื้อนต่าง ๆ และปรับปรุงคุณสมบัติให้ได้ตามมาตรฐาน
ปรับเพิ่มค่าออกเทน เพื่อเพิ่มคุณภาพให้เหมาะสมกับการนำไปผสมในน้ำมันเบนซิน
เปลี่ยนแปลงโครงสร้างน้ำมันเตา (Long Residue) ให้มีมูลค่าสูงขึ้น
การผสมผลิตภัณฑ์ เพื่อปรับแต่งสัดส่วนการผสมน้ำมันให้มีคุณภาพตามข้อกำหนดมาตรฐาน
เพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงอย่างน้ำมันและก๊าซที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้นั่นเอง
แถมยังนำมาเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อผลิตของใช้ในชีวิตประจำวันของเราได้อีกเพียบ!
ที่มา : – https://ngthai.com/science/30194/petroleum/
– https://www.thaioilgroup.com/home/content.aspx?id=81