“PTT Net Zero Emissions” พี่วาฬเชื่อว่าเพื่อน ๆ หลายคนคงจะได้ เห็นคำนี้มากันบ้าง แต่ไม่รู้ว่า PTT Net Zero Emissions คืออะไร? และสำคัญ อย่างไรกับประเทศไทยและโลกของเรากันนะ ยิ่งในปัจจุบัน Net Zero Emissions กลายเป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม และโลกของเรา ให้ดีกว่าที่เป็นในตอนนี้ ซึ่ง ปตท. มองเห็น และให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมากจึงได้ทำการเดินหน้าสู่เป้าหมาย PTT Net Zero Emissions ด้วย “Powering Life with Future Energy and Beyond” พร้อมกลยุทธ์ 3P ภายใต้การนำทัพของ คุณ อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่
นอกจาก ปตท. ต้องการขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังแห่งอนาคต ปตท. ยัง ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม ชุมชน และประเทศไทย วันนี้พี่วาฬเลยจะพาเพื่อน ๆ มาเจาะลึก PTT Net Zero Emissions ว่ามีการดำเนินการ แนวทาง รวมถึงเป้าหมายต่าง ๆ อย่างไรบ้าง
พี่วาฬเริ่มต้นด้วยกลยุทธ์ 3P ได้แก่
- Pursuitof Low Emissions ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้ได้มากที่สุดผ่านโครงการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีดักจับ และกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Storage: CCS) บริเวณพื้นที่ทะเลอ่าวไทย และพื้นที่ฝั่งภาคตะวันออก จากการร่วมมือกันของ PTT Group CCS Hub Model เทคโนโลยีดักจับและการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ประโยชน์ (Carbon Capture and Utilization: CCU) เพื่อนำคาร์บอนไดออกไซด์กลับมาใช้ใหม่ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมของกลุ่ม ปตท. การใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานไฮโดรเจน การดำเนินโครงการประหยัดและอนุรักษ์พลังงานต่าง ๆ รวมถึงการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยคาร์บอนเครดิต
- Portfolio Transformations เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกลุ่มธุรกิจพลังงานแห่งอนาคตมากขึ้นให้ได้ 32% ของการลงทุนทั้งหมดในระยะเวลา 10 ปี และการดำเนินการอื่นๆ เช่น การลดการลงทุนในกลุ่มธุรกิจถ่านหิน เพื่อให้เป็นไปตามแผนงาน PTT Net Zero Emissions
- Partnership with Nature and Society ร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในการเพิ่มปริมาณการดูดซับก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ในอากาศด้วยวิธีการทางธรรมชาติผ่านการปลูกและดูแลรักษาป่าไม้และพื้นที่สีเขียวพร้อมวางแผนในการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง
ถ้าเพื่อน ๆ ได้เห็น PTT Net Zero Emissions Road Map เพื่อน ๆ จะเข้าใจแผนงานมากขึ้นอีก โดยแผนงาน PTT Net Zero Emissions นั้น ทาง ปตท. ได้ตั้งเป้าหมาย และจุดยืนมุ่งสู่ Net Zero Emissions ภายในปี 2050 มาดูกันสิ ว่า Road Map ในแต่ละช่วงของ PTT Net Zero Emissions แผนงานของบริษัท ปตท. เป็นอย่างไรบ้าง
ภายในปี 2030 ปตท. ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 15% เทียบกับปริมาณการปล่อยในปี 2020 โดยการปรับปรุงเทคโนโลยีกระบวนการผลิต ปรับตัวสู่ธุรกิจคาร์บอนฯ ต่ำ
ภายในปี 2040 ปตท. ตั้งเป้าหมายเป็นกลางทางคาร์บอนฯ พร้อมได้เร่งทำเทคโนโลยีดักจับ และกักเก็บคาร์บอนฯ เพื่อนำมาแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานหมุนเวียน
ภายในปี 2050 บริษัท ปตท. และบริษัทที่ทาง ปตท. ถือหุ้นอยู่ 100% ต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ จากโครงการประหยัด และอนุรักษ์พลังงาน พร้อมมีการชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ด้วยคาร์บอนเครดิต พร้อมทั้งเพิ่มปริมาณการดูดซับ และกักเก็บด้วยวิธีการทางธรรมชาติ
ยังไม่หมดนะ PTT Net Zero Emissions มีแผนการ “3 เร่ง” เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ อยากรู้กันแล้วละสิ ว่ามีอะไรบ้าง มาดูกันเลย
อันดับแรก “เร่งปรับ”
- เร่งปรับการผลิต ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- เร่งดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์
- เร่งนำพลังงานมาใช้ให้เกิดความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
- เร่งพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนในกระบวนการผลิต
- เร่งการใช้พลังงานไฮโดรเจน
ต่อไปเป็นการ “เร่งเปลี่ยน”
- ผลักดันให้เกิดระบบนิเวศ EV ที่สมบูรณ์ และครบวงจรได้แก่ “ผลิต – เช่า – ชาร์จ”
- มุ่งลงทุนในกลุ่มธุรกิจพลังงานสะอาด เช่น โครงการแผงโซลาร์เซลล์ลอยทะเล
- มุ่งพัฒนาธุรกิจอาหารแห่งอนาคต Plant-based
สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด “เร่งปลูก”
- เร่งปลูกต้นไม้เพิ่มอีก 1 ล้านไร่ เพิ่มปริมาณการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยวิธีทางธรรมชาติ สร้างประโยชน์ให้เศรษฐกิจและชุมชนโดยรอบ และสร้างที่อยู่อาศัยให้สัตว์ป่า เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ
- นำนวัตกรรมมาใช้สำรวจเพื่อวิเคราะห์การดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ทั้งหมดนี้ทำให้แผนงาน PTT Net Zero Emissions เป็นสิ่งสำคัญสำหรับสังคมไทย เพื่อเปลี่ยนสังคม ชุมชน ประเทศไทย และโลกของเราให้ดียิ่งขึ้นอย่างยั่งยืน
https://www.pttplc.com/th/Media/Activity/Highlights/Content-36564.aspx
https://www.pttplc.com/th/Media/News/Content-30473.aspx
https://forbesthailand.com/sponsored-content/pttlc1
https://thestandard.co/ptt-3p-net-zero-2050/