คามิคัตสึ (Kamikatsu) เมืองเล็กๆ ทางตะวันตกเฉียงใต้ที่เกาะชินโชกุของญี่ปุ่น มีกระบวนการจัดการขยะที่ทรงประสิทธิภาพ อย่างการแยกขยะมากถึง 45 ประเภท จากการนำแนวคิด Zero Waste พร้อมกับใช้หลักการง่ายๆ ที่ทุกคนทำได้โดยการ ลดขยะ (reduce) รีไซเคิล (recycle) และการใช้ซ้ำ (reuse) จนกระทั่งเปลี่ยนเป็นเมืองต้นแบบที่ปลอดขยะของโลก
ในปีนี้ตั้งเป้าหมายไว้สุดท้าทาย คือการเป็นเมืองที่ปลอดขยะ 100% ซึ่งตอนนี้เมืองคามิคัตสึสามารถจัดการขยะได้กว่า 80 % ที่เหลืออีก 20 % จัดการด้วยการฝังกลบ โดยส่วนที่เป็นขยะเปียก หรือขยะอินทรีย์ก็ถูกแปรรูปหมักเป็นปุ๋ยหมัก ทั้งแบบหมักในถังพลาสติกและย่อยสลายในถังไฟฟ้า
เมืองคามิคัตสึ เป็น 1 ใน 8 เมือง Zero Waste ของญี่ปุ่นที่ถูกยกเป็นโมเดลเมืองปลอดขยะ ที่นี่นำแนวคิด Zero Waste มาใช้เมื่อปี 2003 ในช่วงแรกก็ไม่ใช่เรื่องที่ทำโดยง่ายดายเพราะต้องเริ่มด้วยการเข้าไปทำความเข้าใจกับชาวบ้าน โดยให้เริ่มจากการคัดแยกขยะภายในครัวเรือน พร้อมกับการจัดตั้งสถานีแยกขยะไว้ในชุมชน ซึ่งหนึ่งในกลไกสำคัญที่ทำให้เมืองคามิคัตสึกลายเป็นมืองปลอดขยะ คือ ศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับขยะ หรือ Zero Waste Academy องค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ให้ความรู้และมีระบบบริหารจัดการ
นพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่าเมืองคามิคัตสึ มีการจัดการปัญหาขยะ 2 แบบ คือ 1. ใช้พลังงานไฟฟ้า เปลี่ยนขยะอินทรีย์เป็นปุ๋ย 2. เป็นแบบใช้ถังขยะเปียกเพื่อหมักขยะในบ้าน โดยการสนับสนุนจากรัฐบาล เช่น เครื่องหมักขยะราคา 52,000 เยน รัฐบาลจะช่วยออก 40,000 เยน และ ประชาชนจ่ายแค่ 10,000 เยน ด้วยวิธีนี้ทำให้ขยะเปียกของที่นี่ถูกกำจัดได้หมด จึงถือว่าเป็นโมเดลที่น่าสนใจ ที่รัฐจะต้องเข้ามาสนับสนุน (Subsidy)
ส่วนขยะแห้งต้องมีการแยกขยะที่บ้าน และชาวบ้านต้องนำมาส่งเพื่อแยกอีกทีที่ศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับขยะ ที่เรียกว่า Zero Waste Academy ทำหน้าที่ให้ความรู้กับประชาชนเรื่องการจัดการขยะในทุกๆด้าน โดยมีหลักการ/แนวคิด (Concept) ว่าไม่มีขยะ หรือ Zero Waste ซึ่งหมายถึง สิ่งของทุกชิ้นยังมีคุณค่าไม่ใช่ของที่จะทิ้ง แต่สามารถปรับปรุงหรือรีไซเคิล เพื่อนำมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งคนญุี่ปุ่นจะมีเป็นคนที่เคารพกฎหมายมาก
การทิ้งขยะของคนญุี่ปุ่น มีความเข้มงวดถึงขนาดว่าต้องมีการจ่ายเงินเพื่อการจัดการขยะ เช่น หากต้องการทิ้งขยะต้องไปซื้อสแตมป์ซึ่งเท่ากับเป็นการจ่ายค่าจัดการขยะตามราคาของสิ่งของที่จะทิ้ง
“การทิ้งขยะของญี่ปุ่นจึงเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะต้องเสียเงิน หรือใช้ระบบความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต Extended Producer Responsibility; EPR) ซึ่งแม้แต่การซื้อรถของญุี่ปุ่นก็มีการบวกค่าจัดการขยะไว้แล้ว ทำให้คนญี่ปุ่นหันมาใช้รถสาธารณะ เห็นได้ว่าการจัดการบริหารขยะแบบประเทศญุี่ปุ่น เพื่อที่จะก้าวไปเป็น Zero Waste นั้นต้องมีการบูรณาการในทุกๆ ด้านทั้งภาครัฐ และภาคประชาสังคม รวมถึงต้องมีการคิดอย่างเป็นระบบเพื่อให้การแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม” เลขาธิการสช. กล่าว
หมู่บ้านคามิคัตสึ (Kamikatsu) ตั้งอยู่ท่ามกลางทุ่งข้าวเขียวขจีและป่าภูเขาบนเกาะชิโกกุทางตะวันตกของญี่ปุ่น ด้วยผู้อยู่อาศัยน้อยกว่า 1,700 คน ที่นี่จึงเป็นหมู่บ้านที่เล็กที่สุดบนเกาะแห่งนี้ แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาหมู่บ้านได้เป็นข่าวไปทั่วโลก
ทั้งนี้เป็นเวลาหลายสิบปีที่หมู่บ้านแห่งนี้มีความคิดที่จะจัดการขยะ โดยติดว่าจะใช้เตาเผาขยะหรือฝังดิน อย่างไรก็ตามโครงการที่ใช้เตาเผาขยะได้ถูกล้มเลิกไป ทำให้หมู่บ้านต้องทบทวนแผนยุทธศาสตร์กำจัดขยะกันใหม่ จนกลายเป้าหมายที่ท้าทายและสูงส่ง นั่นคือการเป็นเมืองที่มีปลอดขยะ 100% ภายในปี 2563
ทุกวันนี้ขยะมากกว่า 80% ของเมืองไม่ต้องนำไปเผาและฝังกลบอีกต่อไปแล้ว แต่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่ได้ง่าย ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพียงแต่ทุกภาคส่วนต้องให้ความร่วมมือในการปฏิบัติอย่างจริงจัง
“ปัจจุบัน เมืองแห่งนี้ กลายเป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยวและนักพัฒนาที่อยากมาดูการจัดการขยะ ในแต่ละปีมีคนมาท่องเที่ยวที่นี่จำนวนมาก ช่วยสร้างรายได้ให้กับคนที่นี่ แทบไม่น่าเชื่อว่าการเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ทิ้งขยะจากกลุ่มคนเล็กจะส่งสามารถมี impact ที่ีดีแบบนี้ต่อทั่วโลกได้ “ อาริกะ ประธาน Zero Waste Academy กล่าว