สิ่งแวดล้อม

22 กันยายน 2563 นักวิทย์ได้คำตอบ “ไซยาโนแบคทีเรีย” ต้นเหตุทำช้างบอตสวานาตาย ๓๓๐ ตัว

Pinterest LinkedIn Tumblr

หลังพบช้างแอฟริกาในประเทศบอตสวานาตายโดยไม่ทราบสาเหตุจำนวนหลายร้อยตัว บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอคาวังโก ในช่วงเดือน พ.ค. และ มิ.ย. นักวิทยาศาสตร์พยายามหาสาเหตุมาตลอด โดยตัดความเป็นไปได้เรื่องการล่าสัตว์ออกไป เนื่องจากงายังอยู่ที่ซากช้าง และในที่สุดพวกเขาก็ได้คำตอบ

22 กันยายน 2563 นักวิทย์ได้คำตอบ “ไซยาโนแบคทีเรีย” ต้นเหตุทำช้างบอตสวานาตาย ๓๓๐ ตัว, Whale Energy Station

หลังพบช้างแอฟริกาในประเทศบอตสวานาตายโดยไม่ทราบสาเหตุจำนวนหลายร้อยตัว บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอคาวังโก ในช่วงเดือน พ.ค. และ มิ.ย. นักวิทยาศาสตร์พยายามหาสาเหตุมาตลอด โดยตัดความเป็นไปได้เรื่องการล่าสัตว์ออกไป เนื่องจากงายังอยู่ที่ซากช้าง และในที่สุดพวกเขาก็ได้คำตอบผลการทดสอบในห้องแล็บพิเศษในประเทศแอฟริกาใต้ แคนาดา ซิมบับเว และสหรัฐอเมริกา ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมายืนยันว่า มีช้างทั้งหมด ๓๓๐ ตัวที่ตายจากการกินไซนาโนแบคทีเรีย สาหร่ายขนาดเล็กที่อยู่ในน้ำเข้าไป หลังจากตอนแรกเจ้าหน้าที่ป่าไม้ยังกังขาว่า ช้างกลุ่มนี้ตายเพราะไซยาโนแบคทีเรียจริงหรือไม่ เนื่องจากแบคทีเรียชนิดนี้จะอยู่บริเวณขอบบ่อน้ำ แต่ช้างมักจะกินน้ำจากบริเวณกลางบ่อ

นายเอ็มมาดี รูเบน สัตวแพทย์จากกรมอุทยานและสัตว์ป่าแห่งชาติกล่าวในการแถลงข่าวเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๑ก.ย. ๖๓ ว่า ผลการทดสอบล่าสุดพบพิษต่อระบบประสาทที่ผลิตโดยไซยาโนแบคทีเรียทั้งในตัวช้าง และในบ่อน้ำ นอกจากนี้ การตายของช้างก็หยุดลงในช่วงเดือน มิ.ย. ปีนี้ ซึ่งตรงกับตอนที่บ่อน้ำในจุดเกิดเหตุเริ่มแห้งพอดี

อย่างไรก็ตาม นายรูเบนกล่าวว่า การตายของช้างครั้งนี้ยังมีคำถามเหลืออยู่อีกมาก “เรามีคำถามมากมายที่ยังต้องการคำตอบ เช่น ทำไมจึงมีแต่ช้างที่ตาย และทำไมเหตุจึงเกิดในบริเวณนั้นเท่านั้น เรามีสมมติฐานจำนวนหนึ่ง แต่เรากำลังตรวจสอบอยู่” ทั้งนี้ ไซยาโนแบคทีเรีย หรือที่รู้จักกันในชื่อสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินถูกพบทั่วโลกโดยเฉพาะในแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์และนิ่งสงบ บางสายพันธ์ุสามารถผลิตสารพิษที่ส่งผลกระทบทั้งต่อสัตว์และมนุษย์ ทำให้เกิดอาการป่วยอย่างเช่น ระคายเคืองผิว ปวดท้อง อาเจียน คลื่นเหียน ท้องร่วง มีไข้, เจ็บคอ และปวดศีรษะ