ข่าวพลังงาน น้ำมัน

สถานการณ์ตลาดน้ำมันประจำสัปดาห์ที่ 17-21 พ.ค. 64 และคาดการณ์สัปดาห์ที่ 24-28 พ.ค. 64 โดยทีมวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

Pinterest LinkedIn Tumblr
สถานการณ์ตลาดน้ำมันประจำสัปดาห์ที่ 17-21 พ.ค. 64 และคาดการณ์สัปดาห์ที่ 24-28 พ.ค. 64 โดยทีมวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), Whale Energy Station
สถานการณ์ตลาดน้ำมันประจำสัปดาห์ที่ 17-21 พ.ค. 64 และคาดการณ์สัปดาห์ที่ 24-28 พ.ค. 64 โดยทีมวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก🛢
➕•สำนักสถิติแห่งชาติของจีนรายงานปริมาณการนำน้ำมันดิบเข้ากลั่นในเดือน เม.ย. 64 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 7.5% มาอยู่ที่ 14.14 ล้านบาร์เรลต่อวัน
➕•ลายประเทศในยุโรปเริ่มผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น อาทิ ประชาชนในสหราชอาณาจักรสามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติบนพื้นฐานของความระมัดระวังได้ตั้งแต่ 17 พ.ค. 64
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ🛢
➖• ประธานาธิบดีอิหร่าน นาย Hassan Rouhani แถลงว่าการเจรจาเพื่อกลับมาสู่การปฏิบัติตามข้อตกลงระงับโครงการนิวเคลียร์ (Joint Comprehensive Plan of Action: JCPOA 2015) กับอังกฤษ ฝรั่งเศส จีน รัสเซีย และเยอรมนี มีความคืบหน้า โดยเฉพาะในประเด็นหลัก อาทิ ให้สหรัฐฯ ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่อภาคพลังงาน ธนาคาร และการเดินเรือของอิหร่าน
➖• สถานการณ์ COVID-19 ในอินเดียยังไม่คลี่คลาย จำนวนผู้ติดเชื้อยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซ้ำได้รับผลกระทบเพิ่มจากพายุ Tauktae ซึ่งพัดเข้าถล่มรัฐ Gujarat ทำให้ฝนตกหนักและน้ำท่วม การอพยพเป็นไปอย่างยากลำบาก อีกทั้งต้องยกเลิกการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ออกไปก่อน
แนวโน้มราคาน้ำมัน🛢
— ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มลดลง ตามความคืบหน้าในการเจรจาข้อตกลงนิวเคลียร์ (JCPOA) ซึ่งจะทำให้อิหร่านสามารถกลับมาส่งออกน้ำมันดิบ ล่าสุดในสัปดาห์นี้เข้าสู่การเจรจาครั้งที่ 5 แม้สหรัฐฯ ยังไม่เข้าร่วมการเจรจาโดยตรง แต่ยังคงส่งผู้แทนมายังกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย โดยสื่อสารผ่านทางผู้แทนจากสหภาพยุโรป ประกอบกับความตึงเครียดในภูมิภาคตะวันออกกลางลดลง หลังจากอิสราเอล และกองกำลังฮามาสในปาเลสไตน์บรรลุข้อตกลงหยุดยิง ตามข้อเสนอของอียิปต์ เริ่ม 2.00 น.วันที่ 21 พ.ค. 64 (เวลาท้องถิ่น) สิ้นสุดการปะทะที่ต่อเนื่องมา 11 วัน อย่างไรก็ตาม ให้จับตาภูมิอากาศในสหรัฐฯ ที่อาจกระทบต่อการผลิตน้ำมัน โดย National Hurricane Center (NHC) ประเมินว่าหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณ Gulf of Mexico มีโอกาส 60% ที่จะก่อตัวเป็นเฮอริเคน