สถานการณ์ตลาดน้ำมันประจำสัปดาห์ที่ 3-7 พ.ค. 64 และคาดการณ์สัปดาห์ที่ 10-14 พ.ค. 64 โดยทีมวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก🛢
➕• ความต้องการใช้น้ำมันยังมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น ล่าสุดสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (Energy Information Administration: EIA) คาดว่าความต้องการใช้น้ำมันโลกในปี 2564 อยู่ที่ 97.69 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 5.42 ล้านบาร์เรลต่อวัน และกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) คาดว่าจะอยู่ที่ 96.46 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 5.95 ล้านบาร์เรลต่อวัน
เต็มรูปแบบ ตั้งแต่วันที่ 19 พ.ค. 64 ขณะที่คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) แนะนำให้เปิดรับชาวต่างชาติที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 หรือมาจากประเทศที่ควบคุมการแพร่ระบาดได้ดี
➕• สำนักงานควบคุมและป้องกันโรค (ซีดีซี) ของสหรัฐฯ ออกคำแนะนำใหม่ เรื่องการปฏิบัติตัวในภาวะการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยผ่อนปรนมาตรการ อนุญาตให้ประชาชนที่ได้รับวัควีนครบโดสแล้ว สามารถถอดหน้ากากขณะอยู่กลางแจ้งได้
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ🛢
➖• การระบาดของ COVID-19 ในอินเดียรุนแรงขึ้น โดยมีผู้ติดเชื้อรายวันสูงสุดถึง 414,188 ราย วันที่ 6 พ.ค. 64 ผู้ป่วยสะสม24.6 ล้านราย เสียชีวิต 270,284 อย่างไรก็ดี S&P Global Ratings ประมาณการณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) เติบโตที่ 9.8% ต่อปี หากการระบาดรุนแรงระดับปานกลาง และเติบโตที่ 8.2% ต่อปี หากการระบาดรุนแรงที่สุด
แนวโน้มราคาน้ำมัน🛢
— จากการวิเคราะห์ทางเทคนิค ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent ในสัปดาห์นี้ มีแนวโน้มเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง $65-$69/BBL ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มถูกกดดันจากความกังวลว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 อาจส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมันในอินเดีย อย่างไรก็ตามธนาคารกลางสหรัฐฯ ระบุจะคงนโบบายการเงินแบบผ่อนปรนต่อไปแม้อัตราเงินเฟ้อเดือน เม.ย.64 อยู่ที่ 4.6% ต่อปี ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่ 2% ต่อปี ให้ติดตามท่าที่ของประชาคมโลกต่อกรณีอิสราเอลโจมตีชาวปาเลสไตร์ ที่สร้างความตึงเครียดในตะวันออกกกลาง