สานฝัน “ปั้นคนสมองยุทธศาสตร์ชาติ” “Active Learning” รูปแบบการเรียนการสอนที่ถูกพูดถึงมากในโลกยุคปัจจุบัน เพราะเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม และมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ เช่น การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การระดมสมองการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการทำกรณีศึกษา เป็นต้น
ดังนั้น การเรียนการสอนแบบ “Active Learning” จึงเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เป็นที่ยอมรับของครู อาจารย์ และนักการศึกษา รวมไปถึงผู้ปกครองว่าเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ตอบโจทย์ยุคปัจจุบันมากที่สุด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงร่วมกันพัฒนานวัตกรรมเพื่อยก ระดับคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบ “Active Learning” แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัด สพฐ.
“การพลิกโฉมคุณภาพการศึกษาไทย ผู้เรียนทุกคนต้องเข้าถึงนวัตกรรมภายใน 2 ปี” ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลงานด้านการศึกษาของประเทศ และเป็นประธานในการแถลงถึงความร่วมมือในครั้งนี้กล่าวย้ำ พร้อมกับฉายภาพลงลึกรายละเอียดทั้งในส่วนของเป้าหมาย และวิธีการอีกด้วยว่า เป้าหมาย การพลิกโฉมคุณภาพการศึกษาไทยครั้งนี้ สพฐ. และจุฬาฯ จะร่วมกันปักหมุด โรงเรียนต้นแบบ การพัฒนาผู้เรียนให้เข้าถึงนวัตกรรมได้ทุกคนในทุกจังหวัด โดยระยะแรกพัฒนาครูจังหวัดละไม่เกิน 200 คน จำนวนโรงเรียนไม่น้อยกว่า 3 โรงเรียน แล้วค่อยขยายผลให้ครอบคลุมทุกโรงเรียน ทุกขนาดทั่วประเทศ ขณะเดียวกันต้องยกระดับศักยภาพผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีศักยภาพการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น ภูมิภาค และประเทศได้ ที่สำคัญระบบการศึกษาต้องพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 12 ด้านให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีนัยสำคัญ
ส่วนวิธีการ จะมีการปฏิรูปการเรียนรู้ระดับห้องเรียนด้วยการปรับวิธีสอนจาก Passive Learning ที่เน้นป้อนข้อมูล โดยการท่องจำเนื้อหามาเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อให้ผู้เรียนสร้างความรู้ผ่านกระบวนการคิดชั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Steps) ด้วยการให้ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลเป็น (Gatherng) วิเคราะห์ สังเคราะห์ ออกแบบ ตัดสินใจบนพื้นฐานคุณธรรมและคำนิยมเพื่อสังคมประเทศชาติ (processing) และนำความรู้ไปสู่การลงมือปฏิบัติอย่างมีแบบแผน ตรวจสอบเพื่อแก้ปัญหา พัฒนาจนเกิดผลผลิตที่ดีกว่า มีคุณค่าต่อสังคมมากกว่าเดิม (Applying 1-2) และกำกับความคิด (Self-Regulating) ในการตรวจสอบกลไกเชิงระบบของงานที่ทำเพื่อเพิ่มคุณค่า คุณธรรม ค่านิยม และขยายประโยชน์สู่สังคมที่กว้างขึ้นด้วยการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนทุกระดับชั้น
โดยเฉพาะ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีจุดเน้นสำคัญ คือ ระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ผู้เรียนสามารถขาย Idea, Project ที่เกิดจากการเรียนรู้ให้กับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ และภาคธุรกิจเอกชน โดยสามารถนำผลงานไปสู่การปรับปรุงเป็นผลิตภัณฑ์ขายในประเทศได้
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้จากการปฏิบัติการเชิงวิจัยงานทั้งในสถานศึกษาและสถานประกอบการได้อย่างมีคุณภาพ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างงานเป็นปัญญาประดิษฐ์ (Arti– fcial Intelligences : A) โดยใช้คอมพิวเตอร์และระบบดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เน้นบริบทของท้องถิ่นทั้งด้านวัฒนธรรม อาชีพสิ่งแวดล้อม และสังคมในการนำมาสู่การวิจัยและพัฒนาควบคู่กับการเรียนรู้ตามหลักสูตร
ระดับอาชีวศึกษาสามารถสร้างความรู้จากการปฏิบัติจริง นำหลักการไปใช้ประกอบอาชีพ ได้อย่างหลากหลาย มีศักยภาพด้านความคิดสร้างสรรค์นำมาใช้กับเทคโนโลยีเพื่อสร้างงานเป็นปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligences : A) และพัฒนาตนเองได้สอดคล้องกับอาชีพที่ตนสนใจ สามารถต่อยอดคุณภาพของงานวิจัยและพัฒนาได้เอง เรียนรู้ได้เองอย่างต่อเนื่อง
การศึกษาตามอัธยาศัย ให้ประชาชนสามารถ นำหลักการไปใช้ในการทำงาน สามารถนำเทคโนโลยีมาพัฒนาตนเองและอาชีพ เข้าถึงกระบวนการสร้างความรู้อย่างกว้าง ขวางสามารถเรียนรู้ได้เองตลอดชีวิต
แนวทางการพัฒนา เริ่มตั้งแต่การกำหนดกลุ่มโรงเรียนต้นแบบในแต่ละจังหวัดทั้ง 77 จังหวัด โดยนำโรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวน 1 โรงเรียน โรงเรียนขนาดกลางจำนวน 1 โรงเรียน โรงเรียนขนาดเล็กจำนวน 1 โรงเรียน เป็นกลุ่มแกนนำเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนเข้าถึงนวัตกรรมและสามารถสร้างนวัตกรรมร่วมกันได้ภายใน 2 ปี โดยต้องให้สำเร็จ 100%