🛢 สถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 10 – 14 ต.ค. 65 และแนวโน้ม 17 – 21 ต.ค. 65
✔ ราคาน้ำมันดิบในตลาดซื้อขายล่วงหน้าผันผวน โดยตลาดยังคงให้น้ำหนักกับอุปทานที่มีแนวโน้มตึงตัวจากการลดการผลิตของกลุ่ม OPEC+ ท่ามกลางความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลก ล่าสุดประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ สาขา Chicago กล่าวว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ เห็นสอดคล้องกันที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย
✔ ขณะที่รองนายกรัฐมนตรีรัสเซียยืนยันจะไม่ขายน้ำมันรัสเซียให้กับประเทศที่เข้าร่วมการซื้อขายน้ำมันรัสเซียผ่านกลไกการตั้งเพดานราคาน้ำมันของสหรัฐฯ และกลุ่ม G7 และอาจกำหนดให้ข้อตกลงเพดานราคาน้ำมันดิบรัสเซียครอบคลุมถึงประเทศอื่น (Third Parties)
✔ โดยสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันมีโอกาสทรงตัวอยู่ในกรอบ 90 – 98 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกอาจชะลอตัวในไตรมาส 4/65 โดยประธานาธิบดีจีนกล่าวในที่ประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ว่าจะไม่มีการผ่อนคลายมาตรการ Zero-Covid และไม่ปิดกั้นการใช้กำลังทางทหารเพื่อเข้าควบคุมไต้หวันในอนาคต
🛢 ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก
➕ Citi Research ปรับประมาณการราคาน้ำมันดิบ ICE Brent เฉลี่ยปี 2565 และปี 2566 เพิ่มขึ้น 2 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล และ 13 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล โดยคาดว่า OPEC+ จะผลิตน้ำมันดิบในเดือน พ.ย. 65 ลดลง 900,000 บาร์เรลต่อวัน
➕ รายงานฉบับเดือน ต.ค. 65 ของ EIA คาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกปี 2565 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.12 ล้านบาร์เรลต่อวัน
🛢 ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
➖ กองทุนการเงินระหว่างประเทศคงคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) โลกปี 2565 จากปีก่อนอยู่ที่ +3.2% อย่างไรก็ดีปรับคาดการณ์ GDP โลกปี 2566 จากปีก่อนอยู่ที่ +2.7% จากต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยและราคาพลังงาน
➖ รายงานฉบับเดือน ต.ค. 65 ของ OPEC คาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกปี 2565 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอยู่ที่ 99.67 ล้านบาร์เรลต่อวัน และในปี 2566 จากปีก่อนเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 102.02 ล้านบาร์เรลต่อวัน
➖ กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งบ่งชี้อัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.ย. 65 จากปีก่อนอยู่ที่ +8.2% มากกว่านักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะจากปีก่อนอยู่ที่ +8.1% อย่างไรก็ดีชะลอตัวจากเดือน ส.ค. 65 ซึ่งจากปีก่อนอยู่ที่ +8.3%