ธุรกิจ

ผู้บริหาร ปตท. คนที่ 10 กับวิสัยทัศน์ “PTT by PTT

Pinterest LinkedIn Tumblr

ในปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา ได้มีผู้บริหาร ปตท. คนใหม่ ที่จะมานำหัวเรือท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งพี่วาฬจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับเขากันครับ

ผู้บริหาร ปตท. คนที่ 10 กับวิสัยทัศน์ “PTT by PTT”

ผู้บริหาร ปตท. คนที่ 10 กับวิสัยทัศน์ “PTT by PTT, Whale Energy Station

ท่ามกลางวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ในปี พ.ศ. 2563 บริษัท ปตท. และบริษัทในเครือที่เผชิญกับปัญหาผลประกอบการ ได้ก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ได้มี ‘คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์’ ขึ้นมารับตำแหน่ง ผู้บริหาร ปตท.เป็นคนที่ 10 พี่วาฬขอบอกเลยครับว่า เป็น CEO ปตท. ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลอีกคนหนึ่งครับ

พี่วาฬจะขอพาเพื่อนๆ ทุกคนทำความรู้จักคุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ CEO ปตท. คนที่ 10 พร้อมทั้งแนะนำถึงวิสัยทัศน์ใหม่ที่จะนำพาประเทศไทยสู่ความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นครับ

คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์

คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ เกิดเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนที่จะศึกษาต่อปริญญาโท ในหลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และยังได้ทุนการศึกษาจาก British Council ให้ศึกษาต่อด้าน Petroleum Management, College of Petroleum Studies, Oxford University ในประเทศอังกฤษอีกด้วย

นอกจากนี้คุณอรรถพลยังผ่านการอบรมมากมาย ได้แก่

  • หลักสูตร Director Certification Program (DCP 173/2013), Company Secretary Program (CSP 14/2005) จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
  • หลักสูตร TLCA Executive Development Program (EDP) รุ่นที่ 1 สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง (ปปร.) รุ่นที่ 14 สถาบันพระปกเกล้า
  • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง (วตท.) รุ่นที่ 20 สถาบันวิทยาการตลาดทุน
  • หลักสูตร NIDA-Wharton Executive Leadership Program 2009, The Wharton School of the University of Pennsylvania, ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • หลักสูตร PTT Executive Leadership, General Electric, GE, รัฐนิวยอร์ก, ประเทศสหรัฐอเมริกา

ถือเป็นหลักฐานที่บ่งชี้ได้ชัดเจนว่าคุณอรรถพลมีความรู้ในอุตสาหกรรมเป็นอย่างดี และมีความสามารถในการเป็นผู้นำผ่านการอบรมอันมากมายครับ

อีกทั้งคุณอรรถพลยังได้ร่วมทำงานกับ ปตท. มากว่า 30 ปี ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อสังคม ปตท. ในปี พ.ศ. 2552 และตำแหน่งอื่นๆ เรื่อยมาจนได้เป็นผู้บริหาร ปตท. คนที่ 10 ในปี พ.ศ. 2563

ผู้บริหาร ปตท. คนที่ 10 กับวิสัยทัศน์ “PTT by PTT, Whale Energy Station

วิสัยทัศน์ “PTT by PTT” คืออะไร?

วิสัยทัศน์ “PTT by PTT” เป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจที่คุณอรรถพลได้นำเสนอหลังจากรับตำแหน่ง CEO ปตท.  โดย PTT คำแรกนั้นย่อมาจาก Powering Thailand’s Transformation ให้ปตท. เป็นองค์กรด้านพลังงานที่ยั่งยืนของประเทศไทย พร้อมขับเคลื่อนประเทศโดยการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ อย่างเช่น วิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาเศรษฐกิจ สังคมผู้สูงอายุ ผ่านการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสังคมในด้านต่างๆ นั่นเองครับ ซึ่ง PTT ก็เป็นกลยุทธ์ที่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว สามารถขยายความได้ ดังนี้

P = Partner and Platform

สร้างพันมิตรและสัมพันธไมตรีกับองค์กรอื่นๆ เพื่อพัฒนาธุรกิจของปตท. ให้มีแพลตฟอร์มที่มากกว่าการผลิตหรือจำหน่ายสินค้า โดยจะขอความร่วมมือองค์ต่างประเทศที่มีความรู้หรือ Know-How มาเป็นพันมิตร และร่วมกับกับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เอกชน ผู้ประกอบการ และ SME เพื่อสร้าง Ecosystem และ Business Model ใหม่ ที่พร้อมจะเติบโตไปด้วยกัน

T = Technology for All

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ให้ความสำคัญด้วยแนวคิดแบบดิจิทัลบวกกับ Know-How ในธุรกิจนั้นๆ ทั้งในด้านการดำเนินธุรกิจ กระบวนการผลิต หรือแม้แต่นวัตกรรมเพื่อสังคม

T = Transparency and Sustainability

สร้างความโปร่งใสและความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ โดยการนำมาตรฐานสากลเข้ามาผสมผสานความเป็นไทย ด้วยการขมวดหลักการที่ซับซ้อนให้ออกมาเป็นนิยามง่ายๆ อย่าง ‘Performance เราต้องเลิศ โลกเราต้องรักษ์ สังคมไทยเราต้องอุ้มชู’

ผู้บริหาร ปตท. คนที่ 10 กับวิสัยทัศน์ “PTT by PTT, Whale Energy Station

กลยุทธ์ 4R ก้าวข้ามวิกฤต

เนื่องจากสถานการณ์ของโควิด-19 ทำให้บริษัท ปตท. ต้องพบเจอกับปัญหาในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ราคาน้ำมันที่ตกต่ำ พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง และปัญหาสิ่งแวดล้อม ปตท. จึงได้มีการจัดตั้ง PTT Group Vital Center  ขึ้นมาโดยมีกลยุทธ์ 4R ดังนี้

  • Resilience สร้างความยืดหยุ่นและปรับตัวในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง อาทิ ความปลอดภัยของพนักงานในองค์กร การประเมินสุขภาพขององค์กร ลำดับความสำคัญของการลงทุน และรักษาสภาพคล่องขององค์กร
  • Restart เตรียมความพร้อมการดำเนินธุรกิจในทุกส่วน โดยการนำพนักงาน และลูกค้ากลับสู่ภาวะปกติให้เร็วที่สุด และรักษาความสามารถในการแข่งขัน
  • Re-imagination วางแผนออกแบบธุรกิจเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดเป็น Next Normal ทั้งธุรกิจเดิมและ New S-Curve
  • Reform ปฏิรูปโครงสร้างองค์กรและธุรกิจ ให้สอดคล้องกับทิศทางในอนาคต พร้อมรับมือสถานการณ์อันไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

พี่วาฬขอสรุปเลยนะครับว่าบริษัท ปตท. นั้นได้ก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงอันสำคัญอย่างยิ่งในปี พ.ศ. 2563 โดยมีคุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ผู้บริหาร ปตท. คนที่ 10 เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งขอองค์กรให้พ้นวิกฤตและช่วยพัฒนาประเทศด้วยเทคโนโลยีอย่างยั่งยืนครับ

 

ขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล:

‘อรรถพล’ เปิดวิสัยทัศน์ CEO ปตท. คนที่ 10 ดึงกลยุทธ์ ‘4R’ สู้วิกฤติ โควิด-19

รู้จัก “อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์” ลูกหม้อปตท. 30 ปี นั่ง CEO คนใหม่เป็นคนที่ 10

ซีอีโอคนที่ 10 ปตท. เมื่อยักษ์ปรับตัวครั้งใหญ่ในรอบ 42 ปี – THE STANDARD

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน): ผู้บริหาร : นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์