สิ่งแวดล้อม

‘พลาสติกรีไซเคิล’ หนทางยั่งยืนของเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนจริงหรือ?

Pinterest LinkedIn Tumblr

‘พลาสติกรีไซเคิล’ หนทางยั่งยืนของเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนจริงหรือ?, Whale Energy Station

บทวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญจาก เดอะ การ์เดียน ได้ยกประเด็นการยึดโยงความก้าวหน้าและยั่งยืนของเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy ไว้กับพลาสติกรีไซเคิล ว่าใช่คำตอบสุดท้ายจริงหรือไม่

เพราะถึงวันนี้ โลกยังไม่เห็นจุดเริ่มต้น ทิศทาง และจุดเป้าหมายปลายทางของเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนแต่อย่างใด จากที่มีการเสนอหลากหลายแนวทาง

เศรษฐกิจแบบหมุนเวียน คือ เศรษฐกิจที่ปฏิเสธโมเดลธุรกิจที่นำเอาทรัพยากรมาใช้ ผลิตหรือสร้างขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ซึ่งตามนิยามของ Ellen MacArthur Foundation ได้ระบุ 3 แคมเปญ ลดขยะ ด้วยการออกแบบที่ไร้ขยะและมลภาวะแต่แรก ทำให้วัตถุดิบและสินค้ายังคงใช้หมุนเวียนหลายรอบ และฟื้นฟูระบบธรรมชาติ ซึ่งเหล่านี้นำมาซึ่งการเน้นวงจรพลาสติกรีไซเคิลในการผลิตสินค้าและบริการของผู้ประกอบการในธุรกิจภาคส่วนต่างๆ ซึ่งมูลนิธิ Ellen MacArthur Foundation ชี้ว่าปริมาณพลาสติกรีไซเคิลดังกล่าวมากกว่าปริมาณสินค้าทั้งหมดที่กิจการต่างๆ ผลิตหลายเท่าตัวไปแล้ว

นอกจากนั้น ยังมีการเปิดตัว Plastic Bank และอุตสาหกรรมผลิตซ้ำหรือ Reprocessing เมื่อมีความต้องการวัตถุดิบที่ผ่านกระบวนการรีไซเคิลจากอุตสาหกรรมรีไซเคิลขึ้นมากมายเป็นดอกเห็ด อาจจะทำให้โลกใบนี้บรรลุผลการใช้หีบห่อจากการรีไซเคิล หรือจากการใช้ซ้ำ 100% ภายในปี 2025 เป็นการสร้างบรรยากาศที่ดีและน่าพอใจในการสร้างเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนสำหรับพลาสติก

แต่ที่จริง พลาสติกรีไซเคิลเป็นเพียงส่วนเดียวของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน บริษัทขนาดใหญ่อย่างเช่น ไฮเนเก้นกำลังหาเทคนิคอื่นๆ ได้แก่ การลดสัดส่วนการใช้พลาสติกและวัตถุดิบอื่นๆ ที่สำคัญในการสร้างขยะหรือมลภาวะตั้งแต่จุดเริ่มต้นการออกแบบก่อนการผลิตจริง โดยเฉพาะการออกแบบแนว Zero-waste พร้อมเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำให้เกิดการใช้ซ้ำและการเติมเต็มให้ใช้ซ้ำได้จริงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการขยายผลของไบโอพลาสติกในสินค้าอย่างจริงจัง

ในขณะเดียวกัน พฤติกรรมของผู้ซื้อก็ต้องเป็นพฤติกรรมการใช้หีบห่อแบบซ้ำหลายรอบ แทนที่จะทิ้งแล้วซื้อใหม่ทุกครั้ง เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า ที่ออกแบบหีบห่อให้เหมาะสมในการนำมาใช้ซ้ำ มีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้นในการผ่านวงจรรีไซเคิล

นอกจากนั้น ยังเสนอแนวคิดให้กำจัดพฤติกรรมการใช้พลาสติกแบบพร้อมเพรียงกัน ซึ่งเป็นวิธีดีที่สุดในการทำให้ขยะพลาสติกพบกับจุดจบถาวร และเข้าข่ายนิยามแรกของ Ellen MacArthur Foundation และหากสามารถเปลี่ยนสภาพของการซักผ้า ทำความสะอาดจากการใช้เป็นน้ำเป็นผงอย่างเดิม ก็จะแก้ปัญหาการใช้หีบห่อพลาสติกไปได้ทางหนึ่ง ซึ่งเท่ากับความท้าทายย้ายมาอยู่ที่ฝั่งของผู้บริโภคด้วย ไม่ใช่เรื่องของผู้ประกอบการที่เป็นฝ่ายผลิตเท่านั้น

สิ่งที่เป็นส่วนผสมที่สำคัญอีกองค์ประกอบหนึ่งของเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน เฉพาะกรณีของพลาสติกหมุนเวียน คือ การสร้างเครือข่ายขนาดมหึมาของการทำงานร่วมกันอย่างพร้อมเพรียง ซึ่งกรณีของไฮเนเก้นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจพลาสติกใหม่ ตามกรอบแนวคิดของ Ellen MacArthur Foundation ภายใต้กรอบแนวคิดที่เป็นธีมพันธมิตรร่วมกัน the Alliance to End Plastic Waste

จึงมีการวิเคราะห์กันว่า การขาดแนวทางชัดเจน ยังทำแบบหลากหลายต่างคนต่างทำ ไม่ได้ทำให้ระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนชะงักงัน แต่อาจจะล่าช้า ไม่เกิดการผนึกพลังชัดเจนและยังซับซ้อนอีกหลายประเด็นที่ต้องกำหนดแนวทางที่เป็นคำตอบให้ชัดเจน ในขณะที่ความพยายามเปลี่ยนระบบสู่เศรษฐกิจแบบหมุนเวียนยังคงดำเนินการต่อไป