ข่าวพลังงาน เทคโนโลยี

เทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าซไนโตรเจน START UP นวัตกรรมเปลี่ยนโลก

Pinterest LinkedIn Tumblr
ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมมีการขยายตัวจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น  ส่งผลให้ความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นตามไปด้วย  ในการผลิตและการใช้พลังงานต่างๆ มีผลต่อระบบเศรษฐกิจ  ในขณะเดียวกันการใช้พลังงานก็ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์  หรือมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตประจำวันจากที่มนุษย์เป็นผู้มีบทบาทที่สำคัญที่สุด  ในการใช้พลังงานที่ส่งผลต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  คงหนีไม่พ้นสิ่งที่ตามมา เช่น ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติหมดลง ปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม  ตลอดจนปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้พลังงานในการผลิตกระแสไฟฟ้ามีการใช้พลังงานจากแหล่งต่างๆ

 

เทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าซไนโตรเจน START UP นวัตกรรมเปลี่ยนโลก, Whale Energy Station
ด้วยก๊าซไนโตรเจน เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ N และเลขอะตอม 7 เป็นอโลหะที่มีสถานะเป็นแก๊สที่มีอยู่ทั่วไป โดยปกติไม่มีสี กลิ่น หรือรส แต่ละโมเลกุลมี 2 อะตอม ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบของบรรยากาศ ของโลกถึง 78% เมื่อไนโตรเจนแปรสภาพเป็นของเหลวจะกลายเป็นของเหลวที่มีอุณหภูมิเย็นจัด มีจุดเดือด -195.8 องศาเซลเซียส( -320.5 องศาฟาเรนไฮต์ ) เมื่อเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นไอ  จะเกิดการขยายตัวถึง 694 เท่า อุณหภูมิที่แตกต่างกันอย่างมากของไนโตรเจนเหลว และสภาวะแวดล้อมภายนอก การเก็บกักต้องป้องกันความร้อนจากบรรยากาศภายนอก
ด้วยความมุ่งมั่นและประสบการณ์ที่เชี่ยวชาญด้านพลังงาน เชื้อเพลิง ก๊าซ และน้ำมัน โดย ผู้บริหารของบริษัท เอ็นเนอยี่ เอ๊คเพริทซ์ (ไทยแลนด์) นายเวนิช วัฒนภูริภากร ผู้มีแนวคิดในช่วงการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ในด้านวิศวกรรมเครื่องกล  พร้อมด้วยการทำงานในบริษัทด้านพลังงาน  และมีผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม  พร้อมทีมงาน ได้ร่วมกันออกแบบและสร้างนวัตกรรมใหม่นี้ขึ้น
เทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าซไนโตรเจน START UP นวัตกรรมเปลี่ยนโลก, Whale Energy Station
นายเวนิช วัฒนภูริภากร  กล่าวว่า ตอนนี้อยู่ในช่วงของการออกแบบการทดลองเครื่องยนต์เทอร์ไบน์ ใบพัดก๊าซไนโตรเจนขนาด 160 kw.    โดยจะเป็นเครื่องยนต์ต้นแบบในโครงการ   ซึ่งจะเป็นการทำงานร่วมกันกับทีมงานของ ผศ. ดร.ประชากร แก้วเขียว  ภาควิชาวิศวกรรมทางทะเล คณะพาณิชยนาวี นานาชาติ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  วิทยาเขตศรีราชา อยู่ในช่วงการพิจารณาในข้อตกลงรอเซ็นสัญญาเอกสาร(MOU) เพื่อที่จะจำลองการพัฒนากำลังการขับเคลื่อนด้วยแรงดันสูงจากพลังงานก๊าซไนโตรเจน  โดยจะทำการทดสอบด้วยโปรแกรม Computational Fluid Dynamics (CFD) ในการออกแบบใบพัดใหม่นี้  เพื่อใช้ทำการคำนวณการไหลของแบบจำลองด้วยกระบวนการทาง CFD ที่สามารถจำลองรูปแบบของการไหล (flow pattern) เพื่อจำลองรูปแบบการไหลของก๊าซไนโตรเจนในระบบเครื่องยนต์เทอร์ไบน์  งานนี้เป็นเพียงบางส่วน ของโครงการเพื่อที่จะนำข้อมูลไปสร้างใบพัดสำหรับพลังงานก๊าซไนโตรเจน ที่เหมาะสมต่อการผลิตจริงในอุตสาหกรรม ต่อไป
โครงการนี้ได้เตรียมยื่นจดสิทธิ์บัตรด้านการออกแบบแนวคิดในประเทศไทยแล้ว พร้อมทั้งยังได้เตรียมแผนการติดต่อเพื่อยื่นจดสิทธิบัตรกับทีมงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะเป็นการสร้างนวัตกรรมใหม่ของคนไทยที่จะก้าวไปเป็น start up ในระดับยูนิคอนของโลก  เพื่อช่วยในเรื่องลดภาวะโลกร้อนและช่วยในเรื่องสุขภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนทั่วโลกให้ดีขึ้น  เพราะเทคโนโลยีนวัตกรรมนี้ นอกจากจะช่วยในเรื่องการสร้างสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นแล้ว  ยังจะช่วยให้เป็นการสร้างเศรษฐกิจไทยและทั่วโลกด้วยการลดต้นทุนการนำเข้าเชื้อเพลิง ก๊าซ น้ำมัน และถ่านหิน ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่สร้างมลพิษจากการเผาไหม้ทั้งสิ้น
นอกจากนี้สิ่งที่น่าสนใจคือจะเป็นการ DISTURB เทคโนโลยีครั้งยิ่งใหญ่ของโลก ที่เราอาจจะได้เห็นการยกเลิกโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลได้อีกด้วย   เพราะผู้บริหารเองได้ทำการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการโรงไฟฟ้านี้แล้ว   เมื่อเทียบผลต่อการทำงานใน 24 ชั่วโมง ซึ่งจะใช้จำนวนเงินในการลงทุนที่ 20 ล้านบาท ต่อ 1 MW. โดยพบว่ามีผลตอบแทนจากการลงทุน( ROI = 81.25%) และ การคืนทุน ( PB = 1.86 หรือ 2 ปี) เนื่องจากเป็นการใช้พลังงานฟรีจากธรรมชาติที่ไม่มีการก่อให้เกิดมลพิษใดๆทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นทั้งทางน้ำและอากาศ ซึ่งทำให้ต้นทุนในการผลิตต่ำ  โดยคาดว่าเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่นี้จะสร้างแล้วเสร็จในปี 2564  และเมื่อโครงการนี้สำเร็จผู้บริหารหรือนักลงทุน จะเริ่มระดมทุนในตลาด tech start up อีกครั้ง หลังโควิด -19 นี้จบลง คนทั่วโลกจะได้ เห็นเทคโนโลยีนี้ซึ่งจะเป็นนวัตกรรมเปลี่ยนโลกใหม่ของคนไทย ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง ในปี 2565  นายเวนิช กล่าว