ก่อนหน้านี้เพื่อน ๆ อาจจะเห็นข่าวมาบ้างว่าประเทศไทยซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แพงกว่าอินเดียรึเปล่า? 💸
❗วันนี้พี่วาฬจะมาเล่าถึงเหตุผลว่า ทำไมราคารับซื้อไฟจากพลังงานแสงอาทิตย์ของแต่ละประเทศถึงไม่เท่ากัน?
ซึ่งเหตุผลหลักๆ ก็จะมีอยู่ 3 อย่างด้วยกัน! 📌
🏭 Economy of Scale คือ การที่ธุรกิจสามารถลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วยได้ เมื่อขนาดปริมาณการผลิตมากขึ้น อธิบายแบบง่ายๆ คือ ยิ่งผลิตเยอะ ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยก็จะยิ่งถูกลง เช่น บ้านที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าขนาด 10 เมกะวัตต์ จะมีต้นทุนในการผลิตต่อหน่วยสูงกว่าฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ 1,000 เมกะวัตต์
⚡️ Capacity Factor คือ ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จริงเมื่อเทียบกับกำลังการผลิตที่ตั้งไว้ โรงไฟฟ้าที่ผลิตไฟได้มากและสม่ำเสมอ (Capacity Factor สูง) จะมีราคาต่อหน่วยถูกกว่าโรงไฟฟ้าที่ผลิตไฟได้น้อยหรือไม่สม่ำเสมอ (Capacity Factor ต่ำ) เช่น ถ้าภูมิอากาศของประเทศนั้น มีแดดที่ร้อนและแรงตลอดทั้งปี ก็ย่อมจะมีปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้มาก (capacity factor สูง)
💰 Investment Cost คือ ต้นทุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้า เช่น ค่าแรง และค่าวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ ยกตัวอย่าง อินเดียมีทั้งค่าแรง และค่าเหล็กเส้นที่ถูกเนื่องจากเป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของโลก ขณะที่ประเทศในแถบยุโรปมีค่าแรงที่สูงก็ย่อมมีต้นทุนการผลิตที่สูงตามมา
ดังนั้น ค่าไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของแต่ละประเทศก็จะแตกต่างกันตามบริบทและต้นทุนของแต่ละประเทศ
ซึ่งถ้านำหลักการนี้มามองในมุมที่เล็กลง พี่วาฬขอยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายขึ้น เช่น 🍔 การซื้ออาหาร ถึงแม้จะเป็นอาหารชนิดเดียวกัน แต่ว่าร้านอาหารแต่ละร้านก็ขายในราคาที่แตกต่างกัน นั่นก็เพราะแต่ละร้านมีต้นทุนและปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่เท่ากันนั่นเองครับ
พี่วาฬหวังว่าโพสต์นี้จะช่วยให้หลาย ๆ คนจะเข้าใจว่า ทำไมแต่ละประเทศถึงมีราคารับซื้อไฟจากพลังงานแสงอาทิตย์ไม่เท่ากันนะครับ ✨